4/11/53

การเปลี่ยนสีผมอย่างปลอดภัย

                                                          
   หนุ่มสาวสมัยใหม่นิยมทำสีผมกันมาก  ดังนั้นเราควรจะศึกษาถึงวิธีทำสีผมที่ถูกต้องและปลอดภัยกัน   เพื่อที่จะได้ไม่เป็นอันตรายกับตัวเรา

         น้ำยาเปลี่ยนสีผมหลากประเภท หลายจุดเด่น น้ำยาเปลี่ยนสีผม หรือยาย้อมผมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามความคงทน ของสีผมที่เปลี่ยน ได้แก่ ยาย้อมผมชนิดชั่วคราว กึ่งถาวร และถาวร
  • ยาย้อมผมชนิดชั่วคราว มีโมเลกุลขนาดใหญ่ สีจึงเคลือบบนชั้นนอกของเส้นผมเท่า นั้น ล้างออกได้ง่าย หลังจากสระผม ด้วยแชมพูครั้งแรก ผลิตภัณฑ์น้ำยาเปลี่ยนสีผมชนิดนี้ มักเป็นแบบพร้อมใช้ ไม่ต้องผสมเอง ให้ยุ่งยาก มักเป็นเฉดแม่สี มีจำหน่ายในรูปแบบคัลเลอร์ รินส์ (Color Rinse) สามารถทา หรือพ่นบนผมที่แห้ง ชโลมหรือทาทิ้งไว้ประมาณ 2-5 นาทีและล้างออก เช่นเดียวกับรูปแบบสเปรย์ (Color Sprays)

  • ยาย้อมผมชนิดกึ่งถาวร มีโมเลกุลขนาดเล็ก สีจึงเคลือบบนชั้นนอก และกลางของเส้นผม แต่ไม่ซึมลึกถึงโปรตีน ของเส้นผม อันจะมีผลเปลี่ยนสีผมเดิม ตามธรรมชาติได้ ยาย้อมผมกึ่งถาวรจึงติดคงทน ในการสระผมอยู่ประมาณ 6-8 ครั้ง มีจำหน่ายในรูปแบบแชมพูสระผม แวกซ์ โลชั่น โฟมย้อมสี ทั้งนี้วิธีใช้ก็แตกต่างกัน ตามลักษณะของผลิตภัณฑ์

  • ยาย้อมผมชนิดถาวร ไม่สามารถล้างออกได้ด้วยการสระผม สีจะติดคงทนและไม่ซีดจางง่าย เหมาะสำหรับ คนที่ต้องการย้อมผมขาว แบ่งประเภทหลักๆ ออกเป็น 2 ชนิดคือ

  • ยาเคลือบผม (Coating Tints) เช่น สมุนไพรย้อมผม (Vegetable Dyes) เปลี่ยนสีผม ด้วยการเคลือบเฉพาะ บนชั้นนอก ของเส้นผม แต่ไม่ทำลายโครงสร้างของเส้นผม ได้มาจากการสกัดของสมุนไพรตามธรรมชาติ เช่น เฮนนา ซึ่งจะให้สีแดงอมส้ม หรือน้ำตาล และดอกคาโมมายด์ ที่ให้สีทอง

  • ยาย้อมผมชนิดซึมสู่เส้นผม เป็นน้ำยาเปลี่ยนสีผมที่คนส่วนใหญ่คุ้นตากัน ภายในกล่องประกอบด้วยน้ำยา 2 ขวด คือ สีออกซิเดชั่นและน้ำยาโกรก หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

  • สีออกซิเดชั่น (Colorant) หรือสีพารา เป็นครีมหรือของเหลวบรรจุในหลอด มีโมเลกุลขนาดเล็ก ไม่มีสี มีแอมโมเนีย เป็นส่วนผสมหลัก เพื่อให้มีสภาวะเป็นกรด-ด่างประมาณ 8-11 ความเป็นด่างของแอมโมเนียนี้ มีคุณสมบัติ ทำให้เส้นผมชั้นนอกบวม และพองขึ้นมาก เมื่อบวกกับส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว จะทำให้สีซึมเข้าไปสู่เส้นผม ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้หากสีออกซิเดชั่นมีความเป็นด่างมาก ก็จะทำลายส่วนชั้นนอก ของเส้นผมบางส่วน ทำให้ผมหยาบ กระด้าง สีออกซิเดชั่นที่นิยมใช้ในประเทศไทยคือ พาราฟีนีรีนไดอะมีน และพาราโทลูอีนไดอะมีน

  • น้ำยาโกรก (Developer) หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ มีลักษณะเป็นครีม หรือของเหลวใส ซึ่งส่วนใหญ่ นิยมใช้ขนาด 6% เพราะหากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มากกว่า 6% จะทำให้ผมแห้ง อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ที่หนังศีรษะ แต่ถ้าไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์น้อยกว่า 6% ก็จะไม่สามารถออกซิไดซ์สีอย่างมีประสิทธิภาพ

เปลี่ยนสีผม - ทำสีผม


หลักการเกิดสีผมสวย

         หลักการทำงานพื้น ฐาน ของน้ำยาเปลี่ยนสีผมชนิดถาวร ที่ทำให้สีผมของเราเปลี่ยนไปคือ การทำปฏิกิริยาระหว่าง สีออกซิเดชั่น (ขวดที่1) กับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (ขวดที่2) หลังจากเทส่วนผสม 2 ชนิด และเขย่าให้เป็นเนื้อเดียวกัน จนข้นแล้วนำไปชโลมบนเส้นผม สารประกอบที่อยู่ในน้ำยา 2 ขวดจะเกิดปฏิกิริยาต่อกันทำให้เกิดออกซิเจน เปลี่ยนขนาดโมเลกุล ของสีให้จับตัวใหญ่ขึ้น มีผลทำให้สีที่ได้ถูกกักเก็บอยู่ในชั้นกลางของเส้นผม นอกจากนี้ออกซิเจน ยังทำปฏิกิริยากับสีผมตามธรรมชาติ เกิดเฉดสีที่อ่อนลง ทำให้สีที่ผสมขึ้นใหม่ตามความเข้ม-อ่อนบนฉลากผลิตภัณฑ์ เห็นเด่นชัดเจนขึ้น

ข้อควรระวังที่ต้องรู้ก่อนทำสีผมทุกครั้ง

         ผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมไม่ว่า จะมาจากการสังเคราะห์ทางเคมี หรือได้มาจากสารสกัดจากธรรมชาติ หากต้องสัมผัส ต่อผิวหนัง หรือเยื่อบุโดยตรง ร่างกายของเราอาจต่อต้าน ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ทั้งสิ้น แต่จะแพ้มาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ แต่ละบุคคล ทั้งนี้อาการแพ้ก็ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยเวลา เช่น บางคนเคยใช้น้ำยาชนิดนี้เป็นประจำแต่อยู่ๆ เกิดแพ้ขึ้นมา หรือเคยใช้ น้ำยานานแล้ว แต่อยู่ดีๆ ก็แพ้ขึ้นมา สรุปแล้วอาการแพ้ไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ ดังนั้นก่อนใช้น้ำยา เปลี่ยนสีผม โดยเฉพาะยาย้อมผมชนิดกึ่งถาวร และชนิดถาวร เราจึงจำเป็นต้องทดสอบ อาการระคายเคืองก่อนทุกครั้งดังนี้
  • ถอดต่างหูออก และทำความสะอาดบริเวณหลังใบหู และเช็ดให้แห้ง
  • บีบสีออกซิเดชั่น และน้ำยาโกรกออกมาเล็กน้อย นำมาผสมกัน และใช้สำลีพันปลายไม้จุ่มน้ำยา ที่ได้ทาบริเวณ หลังใบหู ประมาณ 1 ตารางเซนติเมตร ทิ้งไว้ 48 ชั่วโมง โดยไม่ต้องล้างออก หรือใช้ผ้าปิดทับ
  • ถ้าเกิดรอยแดง รอยไหม้ คัน พุพอง หรือบวมในบริเวณสีที่ทาทิ้งไว้ แสดงว่าแพ้ผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมนั้นๆ ไม่ควรใช้อีกต่อไป
  • ห้ามใช้น้ำยาเปลี่ยนสีผม เปลี่ยนสีขนคิ้ว ขนตา เพราะอาจทำให้ตาบอดได้
  • เด็ก และสตรีมีครรภ์ ไม่ควรใช้น้ำยาย้อมผม

เปลี่ยนสีผม - ทำสีผม

ขั้นตอนต่อไป หลังจากการทดสอบการแพ้ หรือระคายเคือง จากผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมคือ การเตรียมความพร้อมก่อนใช้ ได้แก่
  • ไม่เกา หรือแกะหนังศีรษะจนเป็นแผล หรือรอยถลอกก่อนทำสีผม รอจนกว่าสภาพหนังศีรษะ จะเป็นปกติ จึงค่อยเปลี่ยนสีผม
  • สระผมก่อนทำสีผม เพื่อขจัดความสกปรกบนหนังศีรษะ หรือน้ำมันบนเส้นผม เพื่อให้แน่ใจว่า สีผมจะซึมถึงเส้นผม อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ไดร์เป่าผมด้วยลมเย็น จนแห้งหมาดๆ แบ่งผมออกเป็นช่อๆ
  • สวมถุงมือทุกครั้ง เพื่อป้องกันน้ำยาสัมผัสถูกผิวหนังโดยตรง
  • บีบสีออกซิเดชั่นผสมกับ น้ำยาโกรก เขย่าแรงๆ จนสีเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน และตั้งทิ้งไว้ 3 นาที หรือจะเทส่วนผสมทั้งหมด ลงชามผสมสี และใช้แปรงทาคนผสมให้เข้ากันก็ได้
  • จับผมที่แบ่งไว้เป็นช่อๆ ดึงขึ้นด้านบน แล้วทาน้ำยาเปลี่ยนสีผมจากโคนผมถึงปลายผม ในทิศทางออกนอกตัว ห้ามขยี้ หรือถูน้ำยาบนหนังศีรษะแรงๆ และเว้นการทาน้ำยาห่างจากหนังศีรษะประมาณ 1 นิ้ว จนกระทั่งครบทั้งศีรษะ สุดท้ายค่อยหันกลับ มาทาน้ำยาเปลี่ยนสีผม บริเวณโคนที่เว้นไว้ ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือตามคำแนะนำ บนฉลากผลิตภัณฑ์นั้นๆ
  • ใช้ก้อนสำลีชุบน้ำอุ่น เช็ดทำความสะอาดน้ำยาเปลี่ยนสีผม ที่เลอะบนผิวหนังออกให้หมด
  • ล้างผมด้วยน้ำอุ่นให้สะอาด โดยใช้มือนวดศีรษะเบาๆ สระผมให้สะอาดด้วยแชมพูทั่วไป หรือน้ำยาปรับสภาพเส้นผม ที่บรรจุมาในกล่องผลิตภัณฑ์ประมาณ 2 ครั้ง เช็ดผมให้แห้ง และไดร์ตามปกติ
ป้องกันตนเองจากการใช้ยาย้อมผมอันตราย
         การซื้อสินค้าทุกชนิด เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเอง นอกจากจะอ่านวิธีใช้อย่างละเอียดแล้ว ก็ควรตรวจสอบว่า ผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง มีชื่อผู้ผลิตหรือไม่ และที่สำคัญมีมาตรฐาน หรือผ่านการควบคุม และตรวจสอบ โดยหน่วยงานรัฐ ที่รับผิดชอบหรือไม่ มิฉะนั้นแล้วเมื่อเกิดอาการแพ้หรือปัญหาทางสุขภาพใดๆ ก็ยากต่อการฟ้องร้อง หรือหาผู้รับผิดชอบ มาลงโทษเอาผิดได้

สำหรับน้ำยาเปลี่ยนสีผม ก็ใช้หลักการพิจารณาเดียวกัน โดยเฉพาะก่อนซื้อ ควรสังเกตเครื่องหมาย อย. จากคณะกรรมการ อาหาร และยา เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์นี้ ได้รับการตรวจสอบ และรับรองความปลอดภัยอย่างถูกต้อง และเพื่อเพิ่ม ความมั่นใจ ทางคณะกรรมการอาหาร และยาได้ประกาศเตือนเกี่ยวกับน้ำยาเปลี่ยนสีผมที่ปลอดภัย ต้องไม่มีส่วนผสม ของสารเคมีเหล่านี้
  • 4 methoxy-m-phenylenediamine หรือ 4-MMPD
  • 4-chloro-m- phenylenediamine
  • 2,4 toloene diamine
  • 2-nitro-p- phenylenediamine
  • 4-amino-2-nitrophenol
ที่ผ่านมามีงานวิจัย และการศึกษาในห้องทดลองกับหนู ปรากฎว่าเมื่อให้สาร นี้ หนูมีอาการระคายเคืองบนผิวหนัง และเป็นมะเร็ง
เปลี่ยนสีผม - ทำสีผม
ซึ่งแม้ว่าจะมีผลในระดับหนูทดลอง แต่การหลีกเลี่ยงสารพวกนี้ ย่อมเป็นทางเลือก ที่ดีที่สุด

เรื่องน่ารู้สำหรับการใช้น้ำยาย้อมผม
  • สำหรับคนที่พื้นผมเป็นสีขาว หลังการ ย้อมผม อาจไม่มีปัญหาสีผมผิดเพี้ยน จากสีตัวอย่าง บนกล่อง แต่สำหรับ คนที่มีผมเข้ม ตามธรรมชาติ เช่น ผมสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม ให้เลือก เฉดสีที่อ่อนกว่าสีที่ต้องการประมาณ 1-2 เบอร์ เพื่อสีผมที่เด่นชัดสวย

  • ไม่ควรเก็บน้ำยาเปลี่ยนสีผม ที่ผสม เสร็จแล้ว เพื่อใช้ในครั้งต่อไป อย่าเสียดายเก็บไว้ เพราะภาชนะบรรจุ อาจระเบิด หรือแตกได้

  • หลังการทำสีผม หลีกเลี่ยงการดัด หรือย้อมซ้ำ เพราะจะทำให้สภาพ เส้นผมถูกทำลายมาก ทางที่ดี ควรเว้นระยะห่าง ประมาณ 2-3 อาทิตย์
        ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.brightlives.th.88db.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More